Krisp: โปรแกรมตัดเสียงรบกวนที่ทำให้ประชุมออนไลน์ง่ายขึ้น

หลังจากทำงานที่บ้านมาค่อนปี ก็พบว่าการประชุมทั้งวันโดยใส่หูฟัง (แบบ over-ear) นั้น ไม่ค่อยสบายหูเอาซะเลย

เลยเริ่มจากการประชุมโดยใช้ไมค์จากกล้องเว็บแคม และลำโพงข้างนอกก็เหมือนจะสะดวกขึ้น แต่ก็ต้องคอยระวังเรื่องเสียงรบกวน ไม่ว่าจะเป็นบ้านข้างๆต่อเติม เสียงรถกับข้าว หรือหมู่บ้านข้างๆกำลังตอกเสาเข็ม ทำให้บางทีต้องพูดหลายรอบ(ถึงจุดนี้ต้องยอมรับว่าการตัดเสียงรบกวนของ Microsoft Teams นั้นทำได้ดีกว่า Google Meets เยอะเลย)

ยังไม่นับว่าการต้องคอยปิดเปิดไมค์เวลาพูดด้วย ทำให้การสนทนาไม่ไหลลื่น หรือบางทีพูดไปตั้งนานโดยที่ไม่ได้เปิดไมค์

จนไปจบที่ลอง krisp.ai แอพที่ช่วยตัดเสียงรบกวน โดยทำตัวเองเป็น virtual microphone/speakers เราเลือกแอพต่างๆให้ใช้งานไมค์/ลำโพงผ่านทาง krisp ก็จะได้ฟีเจอร์นี้ไป

หลังจากลองแบบฟรี (ฟรี 240 นาทีต่อสัปดาห์) ก็พบว่ามันใช้ได้อยู่ เลยลองจ่ายเงินแบบ 1 เดือน (ที่แพงกว่าแบบรายปีเยอะมาก) … และสุดท้ายก็มาจบที่จ่ายรายปีในที่สุด

ตัวแอพทำอะไรได้บ้าง

  • ตัดเสียงรบกวนจากฝั่งเราเวลาเราพูด
  • ตัดเสียงรบกวนจากฝั่งคนพูดแล้วมี Noise มาหาเรา (ต้องจ่ายเงิน)
  • บันทึกเสียงเก็บไว้ (ต้องจ่ายเงิน)
  • บันทึกที่ว่าสามารถดาวโหลด/เล่นผ่านเว็บได้ (เล่นแบบ x2 ได้ด้วย)
  • มี feature ของฝั่ง video ด้วย พวกจัดการ background (แต่ยังไม่ได้ลองใช้)
  • มีการวิเคราะห์ให้ว่าเราใช้เวลากับการประชุม (รวมถึงการพูดในที่ประชุม) มากน้อยแค่ไหน
การใช้เวลาสำหรับประชุม/คุยงาน ในข่วงที่ผ่านมา

สิ่งที่คิดว่าแอพน่าจะทำได้ดีดว่านี้

  • คุณภาพของแอพ – ที่ผ่านมาเจอว่าบางแอพแฮงค์ พาลพาเอาการประชุมมีปัญหาไปด้วย
  • การกินทรัพยากรเครื่อง – บางทีเจอว่าเครื่องร้อง (เพราะต้องทำงานเยอะ)
  • ถ้าต่ออุปกรณ์ใหม่ๆเข้าไปกลางการประชุม เสียงจะวิ่งไปที่อุปกรณ์ใหม่ โดยที่ไม่ได้ผ่าน krisp – อันนี้ไม่แน่ใจว่าตัว krisp ทำอะไรได้บ้างมั๊ย
  • Mobile app – ที่เหมือนจะเคยมีและเลิกทำไปแล้ว
  • เห็น Google Meets ทำ Live caption ได้แล้ว คาดหว่างว่า krisp น่าจะทำได้ด้วย เป็น transcript ออกมา แล้วก็ทำ summarize อีกทีออกมาเป็น minute of meeting ให้เราอ่านได้เลย (เวอร์มาก !) – ถึงจุดนึงเราก็ส่ง krisp ไปเข้าประชุม (observe) แทนเราแล้วก็ส่งสรุปมาให้ !

โดยรวมถือว่าทำให้การทำงานชิลขึ้น เราสามารถนั่งเอนหลังฟังการประชุมได้ แล้วก็ไม่ต้องกังวลว่าเสียงสิ่งแวดล้อมจะกวนเวลากำลังพูด

หลังจากนี้ สิ่งที่มองหาคือ ปลาดาว ! (Conference speaker) น่าจะช่วยทำให้การคุยสะบายขึ้นอีกนิดนึง เพราะไมค์กับลำโพงอยู่ที่เดียวกัน ตอนใช้จอนอกนี่จะเจอว่าถ้าใช้ไมค์กับลำโพงจากเครื่องแมคที่วางอยู่ข้างๆนั้น เราจะเอียงตัวไปหามัน แล้วจบที่ปวดหลังทุกที

ปล. ประชุมเยอะเหมือนกันนะเนี่ย

Android In-App Purchase : การจ่ายตังค์ในแอพของน้องด๋อย

หลังจาก Google อนุญาติให้สาวกชาวไทยซื้อแอพบน Android Market ได้แล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะลองผลาญเงินผ่าน Market ให้สมใจอยาก

อันดับแรกที่จำเป็นต้องทำก่อนที่จะซื้อแอพก็คือ การตั้งค่า Google Checkout สำหรับจ่ายตังค์เวลาซื้อแอพทั้งหลาย (ถึงแม้ว่าจะมีข่าวว่ากูเกิลกำลังเจรจากับ Paypal เพื่อให้จ่ายเงินผ่านทาง Paypal ได้ แต่ ณ วันนี้ (23/05/2011) เรายังมี Google Checkout เป็นช่องทางเดียวในการชำระเงิน) ข้อมูลที่ Google Checkout เก็บไว้ก็คงเป็นลักษณะเหมือนๆกับ Amazon 1-click ที่เก็บข้อมูลบัตรเครดิตไว้ (แล้วก็ภาวนาให้มันปลอดภัย) เวลาจะซื้อก็แค่เลือกว่าจะจ่ายด้วยบัตรใบไหนก็เป็นอันเสร็จ .

 

คราวนี้เรามาดูการซื้อของที่เรียกว่า In-App Purchase ที่เป็นขั้นกว่าของการซื้อแอพ 😉

In-App Purchase เป็นการจ่ายตังค์ภายในแอพ (แปลตรงตัวไปมั๊ย) เอาไว้ใช้เวลาเราต้องการซื้อ Feature/Function/Item เพิ่มจากเกมส์หรือโปรแกรมที่เราโหลดไปแล้ว (ซึ่งอาจจะโหลดฟรีหรือไม่ก็ได้)

ตัวอย่างเช่น ผมโหลดเกมส์ Cordy มาเล่น ซึ่งเป็นเกมส์ฟรี แต่มีให้เล่นแค่สี่ด่าน พอจบด่านสี่เจ้าเกมส์ก็จะถามว่าจะซื้อด่านเพิ่มมั๊ย ? ซึ่งคิดราคา 1.99$ (ประมาณ 60บาท)  เดี๋ยวจะอธิบายวิธีซื้อต่อไป ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือ ผมไม่ต้องโหลดเกมส์ใหม่ คนทำก็ไม่ต้องแยกแอพเป็นเวอร์ชันฟรีกับเสียตังค์ แค่ลองโหลดมาใช้แล้วชอบ ก็จ่ายตังค์เพื่อปลดล็อกฟีเจอร์ได้เลย

อีกตัวอย่างจาก In-App Purchase ก็เช่น ซื้อ Item ในเกมส์, จ่ายตังค์เพื่อปิดโฆษณาในแอพ, จ่ายตังค์เพื่อใช้ Feature พิเศษ, หรืออาจจะรวมไปถึงการ Donate ได้ด้วยซ้ำไป

 

มาต่อกันทีเ่กมส์ Cordy เมื่อเล่นๆไปจบด่านฟรี ก็จะมี Popup ขึ้นมาถามว่าเราจะซื้อมั๊ย

Start In-App purchase process

เราก็ตอบ .. ตกลง ก็จะได้หน้าจอตามด้านล่าง เป็นรายละเีอียดของบัตรที่จะหักเงิน (ที่เราใส่ใน Google Checkout ก่อนหน้านี้

Scroll to top