Android Game: Contract Killer มาถือ 4-6 ขึ้นมุมตึกกันเถอะ

ช่วงนี้ติดเกมส์นี้อย่างหนักเลย.. เล่นเกมส์นี้ติดกันมาห้าวันแล้ว 😉

Contract killer เป็นของบริษัท Glu … ซึ่งจริงๆ Android เป็นแพลตฟอร์มที่สองของเกมส์นี้ เวอร์ชันแรกนั้นออกบน iPhone

ตัวเกมส์ว่าให้เราเป็นมือปืนรับจ้าง … ที่อาจจะต่างจากบ้านเราที่เน้นขี่มอไซค์ประกบยิง (น่าจะมีใครทำเกมส์แบบนี้ออกมาบ้างเนอะ) เกมส์จะมีผู้ติดต่อ (Contractor)ให้เราไปเก็บคนนู้นคนนี้ เราจะไม่สามารถบังคับให้ตัวละครเดินไปไหนมาไหนได้  (จริงๆตัวละครอาจจะพิการ) …

Android In-App Purchase : การจ่ายตังค์ในแอพของน้องด๋อย

หลังจาก Google อนุญาติให้สาวกชาวไทยซื้อแอพบน Android Market ได้แล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะลองผลาญเงินผ่าน Market ให้สมใจอยาก

อันดับแรกที่จำเป็นต้องทำก่อนที่จะซื้อแอพก็คือ การตั้งค่า Google Checkout สำหรับจ่ายตังค์เวลาซื้อแอพทั้งหลาย (ถึงแม้ว่าจะมีข่าวว่ากูเกิลกำลังเจรจากับ Paypal เพื่อให้จ่ายเงินผ่านทาง Paypal ได้ แต่ ณ วันนี้ (23/05/2011) เรายังมี Google Checkout เป็นช่องทางเดียวในการชำระเงิน) ข้อมูลที่ Google Checkout เก็บไว้ก็คงเป็นลักษณะเหมือนๆกับ Amazon 1-click ที่เก็บข้อมูลบัตรเครดิตไว้ (แล้วก็ภาวนาให้มันปลอดภัย) เวลาจะซื้อก็แค่เลือกว่าจะจ่ายด้วยบัตรใบไหนก็เป็นอันเสร็จ .

 

คราวนี้เรามาดูการซื้อของที่เรียกว่า In-App Purchase ที่เป็นขั้นกว่าของการซื้อแอพ 😉

In-App Purchase เป็นการจ่ายตังค์ภายในแอพ (แปลตรงตัวไปมั๊ย) เอาไว้ใช้เวลาเราต้องการซื้อ Feature/Function/Item เพิ่มจากเกมส์หรือโปรแกรมที่เราโหลดไปแล้ว (ซึ่งอาจจะโหลดฟรีหรือไม่ก็ได้)

ตัวอย่างเช่น ผมโหลดเกมส์ Cordy มาเล่น ซึ่งเป็นเกมส์ฟรี แต่มีให้เล่นแค่สี่ด่าน พอจบด่านสี่เจ้าเกมส์ก็จะถามว่าจะซื้อด่านเพิ่มมั๊ย ? ซึ่งคิดราคา 1.99$ (ประมาณ 60บาท)  เดี๋ยวจะอธิบายวิธีซื้อต่อไป ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือ ผมไม่ต้องโหลดเกมส์ใหม่ คนทำก็ไม่ต้องแยกแอพเป็นเวอร์ชันฟรีกับเสียตังค์ แค่ลองโหลดมาใช้แล้วชอบ ก็จ่ายตังค์เพื่อปลดล็อกฟีเจอร์ได้เลย

อีกตัวอย่างจาก In-App Purchase ก็เช่น ซื้อ Item ในเกมส์, จ่ายตังค์เพื่อปิดโฆษณาในแอพ, จ่ายตังค์เพื่อใช้ Feature พิเศษ, หรืออาจจะรวมไปถึงการ Donate ได้ด้วยซ้ำไป

 

มาต่อกันทีเ่กมส์ Cordy เมื่อเล่นๆไปจบด่านฟรี ก็จะมี Popup ขึ้นมาถามว่าเราจะซื้อมั๊ย

Start In-App purchase process

เราก็ตอบ .. ตกลง ก็จะได้หน้าจอตามด้านล่าง เป็นรายละเีอียดของบัตรที่จะหักเงิน (ที่เราใส่ใน Google Checkout ก่อนหน้านี้

Android Tip : Brightness control in one touch

ต้องบอกไว้ก่อนนะครับว่าไม่แน่ใจว่าเทคนิคนี้จะใช้กับ Android ทุกเครื่องรึป่าว แต่ที่ใช้ได้แน่ๆคือ Galaxy S และคิดว่า Android จาก Samsung ทั้งหมดก็น่าจะใช้ได้

การปรับความสว่างของหน้าจอเนี่ยทำได้หลายวิธีเลยครับ เช่น

การเข้าไปปรับในส่วนของ Sound and display ใน Settings หรือว่าจะเป็น การใช้ Power widget ในหน้า Home

แต่ที่ผมจะแนะนำวันนี้ คือ การรูดในส่วนของ Notification Bar ครับ (ใช้คำว่ารูดแล้วมันฟังดูแหม่งๆดี ชอบ อิอิ)  เอ้า.. ลองไปดูกัน

ปกติเวลาเราจะเปิด Notification Bar เนี่ย เราจะลากจากขอบจอด้านบนลงมาใช่มั๊ยครับ
ซึ่งตรงนี้แหล่ะ เมื่อเรากดไปตรงขอบจอด้านบน ปลายของหน้า Notification จะแหล่มออกมา

ตรงนี้เลยครับ ถ้าเราลากนิ้วของเราไปทางขวาจะทำให้จอสว่างขึ้น … ในทางตรงกันข้าม ถ้าเราลากนิ้วไปทางซ้ายหน้าจอก็จะมืดลงครับ วิธีนี้จะสะดวกตรงที่เราไม่ต้องออกมาหน้า Home หรือเข้าหน้า Settings เลย อยากให้สว่างตอนในก็ลากขวา ให้มืดก็ลากซ้าย …. จบ !!

Android Review : WiFi Analyzer

ต่อจาก วิธีจับภาพหน้าจอเจ้า Galaxy S ในคราวนี้แล้วก็มาต่อกันที่โปรแกรมแรกบน Android ที่จะพูดถึง…


มันคือโปรแกรม Wifi Analyzer

เรื่องของเรื่องคือ ไปช่วยติดตั้ง Access Point ที่นึง ซึ่งปรากฏว่าทำยังง๊ายย ก็ดูเหมือนจะช้า ต่อแล้วติดๆหลุดๆ ซึ่งก็ได้ตั้งข้อสันนิษฐานกันว่า อาจจะใช้ความถี่เดียวกับ Access Point อื่นแน่เลย @poom3d เลยแนะนำให้ลองใช้โปรแกรมนี้ดู ผลปรากฏว่ามันช่วยได้จริงๆด้วย โชว์กันเห็นๆเลย ว่า Channel ที่เราใช้ต่อ WiFi นั้นซ้ำกับ Access Point ของคนอื่น ผล(ที่เดาได้)ก็คือ Package คงวิ่งชนกันวุ่นวาน และเมื่อเปลี่ยน Channel ก็ทำให้ความเสถียรบังเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


Channel และ Signal Strength ของแต่ละ Access Point


มาดูกันว่ามันทำอะไรได้

  • แสดง Channel และ ความแรงของสัญญาณ ของ Access Point บริเวณนั้น (ตามรูปภาพด้านบน
  • อันถัดมานี่หล่อมาก ออกแนวเดียวกับเครื่องวัดรังสี(อำมหิต)เลย เป็นหน้าจอแสดงความเข้มของสัญญาณ ซึ่งจะแสดงเป็นหน้าปัดแบบเข็ม คลาสสิคมากๆ แถมเปิดเสียงได้ด้วย จะมีเสีย ติ๊ด… ติ๊ด .. และจะดังถี่ขึ้นเมื่อสัญญาณแรงขึ้น .. ติ๊ด ๆๆๆๆๆๆๆ

  • อันถัดมาเป็นหน้าจอสำหรับดูความแรงของสัญญาณเทียบกับเวลา แยกแต่ละ Access Point (อ่านแล้วงงล่ะสิ ไปดูรูปดีกว่า)

  • อีกหน้าจอเป็น รายละเอีดของแต่ละ Access Point รอบข้าง เช่น Mac Address , Channel, Signal Strength, Encryption เป็นต้น

  • สามารถทำ Snap Shot ออกมาเป็นไฟล์ .csv ได้ด้วย สามารถมาเปิดดูย้อนหลังได้
  • ส่วนสุดท้ายเป็น การ Settings ต่างๆ มีให้ตั้งเยอะแยกมากมาย ลองมาดูกัน

  • ปล. มีให้ติ๊ก Hide Ad ด้วย ซึ่งจะ Hide ไป อาทิตย์นึง ถ้าจะ Hide ใหม่ต้องมาติ๊กอีกที
  • ดาวโหลดได้จาก Market โดยตรงหรือเว็บไซต์ผู้พัฒนา http://sites.google.com/site/farproc/wifi-analyzer

วิธีจับภาพหน้าจอเจ้า Galaxy S

อุปสรรคที่ยังไม่ได้เขียน Review ใดๆของเจ้า Galaxy S ออกมาเลย นอกจากความขี้เกียจแล้วก็มีอีกอันคือ



*** ขออัพเดท ***

ถ้าตอนนี้อุปกรณ์ของคุณคือ Android 2.2 บน Galaxy S (ไม่แน่ใจว่ารุ่นอื่นทำได้มั๊ย) คุณสามารถ Capture หน้าจอได้ง่ายๆ โดยกดปุ่ม Back ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม Home (ปุ่มตรงกลาง) น้อง Android ก็จะเซฟภาพหน้าจอให้ท่านเรียบร้อย ไปเปิดดูใน Gallery ได้เลยคร่าบ 🙂

ไม่ต้องลง App ไม่ต้อง Root ^^

ส่วนถ้าไม่ได้ ก็ยังคงทำตามวิธีด้านล่างได้เหมือนเดิมคับ ^^



การจับภาพหน้าจอ (Screen Capture) ของเจ้า Galaxy S นั้นยากกว่าที่คิด

ซึ่งจริงๆแล้วใน Android Market นั้นมีโปรแกรมจับภาพหน้าจอตั้งมากมาย แต่โปรแกรมทั้งหมดนั้นต้องทำการ Root ก่อนใช้งาน …

ซึ่งโดยส่วนตัวตอนนี้ แค่เหตุผลการจับภาพหน้าจอเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการ Root น้อง S ของเราเลย

หลังจากหาๆวิธีการ ก็เจอวิธีที่สามารถทำได้ … นั่นก็คือจับภาพผ่าน AndroidSDK


วิธีการก็ไม่ยุ่งยาก แต่การ Capture โดยไม่ต้อง Root นั้น ณ ตอนนี้ต้องทำจากคอมพิวเตอร์เท่านั้น วิธีการก็มาดูกันเลย

  • ขั้นตอนติดตั้งก็ไม่ยุ่งยาก Extract > แล้วก็ รันตัว SDK Setup
  • เมื่อ Setup บนคอมเสร็จแล้ว ก็มาที่ตัวมือถือกันบ้าง
  • ทำการ Enable USB Debugging โดยไปที่ Settings > Applications > Development > ติ๊กถูกหลัง USB Debugging

  • เสียบ USB เข้ากับคอมของเรา (หมายถึงเสียบให้คอมเชื่อมกับมือถืออะนะ)
  • เปิดโปรแกรม  ddms.bat โดยไฟล์โปรแกรมจะอยู่ใน Folder tools ใต้ Folder AndroidSDK ที่เราลงไว้
  • ถ้าการเชื่อมต่อปกติ จะมีลักษณะดังรูป

  • เลือกเมนู Device > Screen Capture
  • เป็นอันเสร็จสิ้น เราจะได้รูปหน้าจอขณะนั้นบนมือถือของเราทันที
  • ตัวอย่าง…  เป็นหน้าจอของโปรแกรม Wifi Analyzer เดี๋ยวคราวหน้าจะมาบอกว่ามันทำอะไรได้บ้าง


Scroll to top