SET Holidays for Google Calendar

วันนี้ดูปฏิทินเพื่อวางแผนลาพักร้อน แต่ปฏิทิน Thai Holidays มันใช้จริงไม่ค่อยได้ เพราะว่า วันที่ใน Thai Holidays นั้นเป็นวันหยุดจริงๆ ซึ่งแน่นอนว่าเราอาจจะไม่ได้หยุดตามนั้น แถมถ้าเป็นตลาดหลักทรัพย์ (SET) เองก็อาจจะไม่ได้หยุดตามวันหยุดราชการอีกต่างหาก สุดท้ายเลยเข้าสู่สำนวนที่ว่า อยากได้ต้องทำเอง


และด้วยความอารมณ์ดี เลยสร้าง Public Calendar ไว้บน Google Calendar เพื่อไว้แสดงวันหยุดของ SET ไว้ให้ดูง่ายๆ มี 3 Format ดังนี้

: http://www.google.com/calendar/feeds/r3cakij8p6nmj2al9jda0l3neg%40group.calendar.google.com/public/basic

: http://www.google.com/calendar/ical/r3cakij8p6nmj2al9jda0l3neg%40group.calendar.google.com/public/basic.ics

: http://www.google.com/calendar/embed?src=r3cakij8p6nmj2al9jda0l3neg%40group.calendar.google.com&ctz=Asia/Bangkok

(Calendar ID: [email protected])


ส่วนวิธีการนำไปใช้ ก็ตามด้านล่างนี้


การ Import Calendar สำหรับ Google Calendar

1. เปิด Google Calendar (เออ มันคงจะเข้า Hotmail หรอกเนอะ)

2. ด้านซ้ายของหน้าจอจะมีส่วนที่เรียกว่า Other Calendars และจะมีปุ่ม Add อยู่ด้านล่างซ้าย เริ่มกดปุ่ม Add ช้าๆ จะเห็นเมนูย่อยโผล่มา ให้เลือก Add by URL

Google-Calendar-Original

3. เมื่อมีหน้าต่างโผล่มาให้ใส่ URL ว่า http://www.google.com/calendar/ical/r3cakij8p6nmj2al9jda0l3neg%40group.calendar.google.com/public/basic.ics

Google-Calendar-Add-URL

4. กดปุ่ม Add Calendar

5. สำเร็จ !! แค่นี้ก็จะได้ปฏิทินวันหยุดของตลาดหลักทรัยพ์ไปอยู่คู่กับ Calendar ส่วนตัวของคุณแล้ว

Google-Calendar-Added-SET-Holidays

– การทำวิธีนี้สามารถใช้ได้กับ ปฏิทินของเพื่อนด้วยโดยเลือกเมนูย่อยเป็น Add a freind’s Calendar

– สามารถเลือกปฏิทินที่ทาง Google ทำไว้ให้ได้ด้วยเช่นกัน เช่นวันหยุดของประเทศไทย (Thai Holidays) โดยเลือกในเมนูย่อย Browse Interesting Calendars แล้วจะมี Thai Holidays มาให้เลือก

– ก่อนไปสู่ขั้นตอนของ Live Calendar มี  40 Tips สำหรับ Google Calendar มาฝากด้วย ที่นี่ >> http://broncobytes.boisestate.edu/2009/05/20/40-quick-tips-for-using-google-calendar/



การ Import Calendar สำหรับ Windows Live Calendar

1. เข้า calendar.live.com

2. ตรง Tools Bar ด้านบนให้เลือก Subscribe

Live-Calendar-Subscribe

3. หน้า Subscribe เลือก Check Box ที่บอกว่า Subscribe to a public calendar

4. ใส่ URLs http://www.google.com/calendar/ical/r3cakij8p6nmj2al9jda0l3neg%40group.calendar.google.com/public/basic.ics

5. เลือกสี

Live-Calendar-Add-Subscribe

6. กดปุ่ม subscribe to calendar ก็เป็นอันสำเร็จ


สุดท้ายใครที่ยังไม่ได้ใช้ Google Calendar หรือ Live Calendar ก็หันมาใช้ได้แล้ว ฮ่าๆๆ


[ad#inline-1]

A4SWIFT Message Pack 2009 Trailer Problem

I’m working with the Microsoft BizTalk Accelerator for SWIFT (A4SWIFT) for Biztalk 2004. And now it’s time to upgrade our A4SWIFT to version of Message Pack 2009 which announce by SWIFT.

 

Since I downloaded the Message Pack 2009 from Microsoft and start to migrate with my App.I found something abnormal with the Trailer of the message.

 

In Trailer Part of All Schema (MTxxx.xsd) and The External Trailer Schema (SWIFT Trailer.xsd) Tag MAC and PAC was removed by A4SWIFT but i can’t find this change in SWIFT Standard Release Guide 2009

{5:
  {MAC:MessageAuthenticationCode}
  {PAC:ProprietaryAuthenticationCode}
  {CHK:Checksum}
  {SYS:SystemOrientedMessage}
  {TNG:}Training
  {PDE:PossibleDuplicationEmission}
  {DLM:}DelayedMessage
  ...
}
{S:
  {AllianceTrailerData }
}


Now i try to ask this to MS Support and If anybody know about this issue please let me know and if have more progress  i’ll update later.


======== 25/09/2009  Updated =========

After my team call support from decillion (SWIFT Support in Thailand) and search from User Handbook in swift.com

found that SWIFT removed MAC and PAC Tag after lunch RMA (SWIFTNET Phase II) because MAC and PAC Tag use for PKI signatures and now they don’t use it anymore

but SWIFT Alliance Gateway still  generate MAC tag  like  {MAC:000000} for Application use. We can configuration at interface of SWIFT Alliance Gateway for remove  this tag and it will not send MAC and PAC to our application.


Summary : We’ll change configuration  at interface of SWIFT Alliance Gateway for remove MAC Tag and then Apply our application Schema follow the A4SWIFT Schema from Microsoft.


Attach : A practical guide to SWIFTNet Phase 2




A practical guide to SWIFTNet Phase 2

วิธีกู้ WordPress

เช้าวันนึงเมื่อช่วงกลางเดือนที่ผ่านมา ได้พบกับความประหลาดใจเมื่อเข้ามาเช็คสถิติเว็บตามปกติและพบว่า… เว็บหาย !! ใช่แล้วครับคุณอ่านไม่ผิด เว็บหาย !! ตอนแรกในใจก็คิดว่าอาจจะเป็นเรื่อง Server Down ซึ่งเกิดขึ้นได้ปกติทั่วไปตามเครื่องที่เปิดไว้ตลอดเวลา เลยลองไปเข้า Blog ของ @Poom3d เพื่อดูว่าเว็บเจ้าของ Host ยังปกติดีอยู่มั๊ย และก็พบกับข้อความอันทำให้เสียวสันหลังวาบว่า “Poomsoft โดน Amegadon ลง” ในใจตอนนั้นคิดว่า มันแปลว่าอะไรวะ เกิดอะไรขึ้น .. แล้วเว็บกรูล่ะ – -“


ต่อมาเลย Login เข้า CPanel ของเซอร์เวอร์เพื่อดูความผิดปกติซึ่งก็พบว่าไฟล์ในโฟลเดอร์สำหรับเว็บไอแก้วทั้งหมดได้หายไปจริงๆด้วย ทันใดนั้นก็นึกถึงความรู้สึกของการทำ BCP ขึ้นมาทันทีแต่ต่างกันที่ว่าอันนี้มันเป็นแค่บล็อกเล็กๆที่ไม่ค่อยมีคนเข้า แต่ด้วยความรู้สึกตอนนั้นคือ ยังไงก็จะพยายามกู้มันกลับมาให้ได้เพราะหลายๆโพสต์ในนี้มีค่าแก่การจดจำอย่างยิ่ง


หลังจากรู้ว่าไฟล์ของเว็บทั้งหมดได้หายไป  ก็พยายามหาวิธีกู้ข้อมูล โดยได้ข้อมูลเพิ่มเติมคือ Database WordPress ของเว็บยังอยู่ทั้งหมด เลยนำไปสู้ขั้นตอน(ที่คิดขึ้นเอง)สำหรับการกู้เว็บกลับคืนมา


หมายเหตุ วิธีทั้งหมดนี้เขียนขึ้นมาด้วยตัวเองล้วนๆ ไม่แน่ใจว่ามีผลกับ WordPress อย่างไรหรือไม่โปรดใช้ด้วยความระมัดระวัง


ขั้นแรก ต้องมั่นใจว่า Database ของเว็บยังอยู่ปกติจริงๆ หรือหลังจาก Restore DB แล้วยังปกติ โดยลองเข้าไป Select ข้อมูลเล็กน้อยจาก WordPress DB ดูว่าปกติจริงๆ

ขั้นที่ 2 ทำการ Download WordPress จากเว็บ www.wordpress.org ซึ่งขอให้เป็น Version เดียวกับที่เราใช้อยู่ก่อนที่มันจะหายไป

ขั้นที่ 3 ทำการ Upload ไฟล์ WordPress และ Extract อยู่ตาม Path เดิมให้เรียบร้อย

ขั้นที่ 4 ทำการแก้ไข Config ของเว็บ ซึ่งทำได้สองวิธีคือ  แก้ไฟล์ wp-config.php โดย rename จากไฟล์ที่มีอยู่คือ wp-config-sample.php แล้วแก้ไขค่าข้างในให้ถูกต้อง หรือวิธีที่ 2 เข้า Url  Blog ของเราแล้วตัว WordPress จะสร้างหน้าสำหรับ Config มาให้โดยกรอกข้อมูลของ Database ที่เราใช้

ขั้นที่ 5 เมื่อ Config เสร็จแล้วไม่ต้องกด Install ให้ข้ามไป Login เข้า /Wp-Admin เลยด้วย Password Admin เดิม

ขั้นที่ 6 เข้าไปส่วน Settings หน้าไหนที่เราแก้ Config ต่างจาก Default ให้เข้าไป Submit อีกรอบนึงเช่น ค่า Permalinks ที่เรากำหนดให้ URLs เป็น %Postname% แทน /ปี/เดือน/ อะไรแบบนี้ต้องเข้าไป Submit ใหม่

PermalinkReSubmit


ขั้นที่ 7 ไปหน้า Theme แล้ว Search หาธีมที่เราเคยใช้ แล้วเลือก Install

ขั้นที่ 8 อันนี้สำคัญมากๆ มีโอกาสแค่ครั้งเดียวเท่านั้นอ่านให้จบข้อก่อนนะ..  เข้าไปที่หน้า Plugins เมื่อเข้ามาถึงแล้วให้ Capture เก็บไว้เลย เพราะ WordPress จะแสดง Plugin ที่ Error ทั้งหมดขึ้นมา เนื่องจากมีอยู่ใน Database แต่ไม่มีไฟล์ Plugin นั้นๆ ซึ่งที่สรุปได้ มันก็คือ Plugin ที่เราเคยลงไว้ทั้งหมดนั่นเอง โดยมันจะปรากฏครั้งเดียวตอนเข้าหน้า Plugins ครั้งแรกหลังจากลง WordPress ใหม่

PluginError

ขั้นที่ 9 เมื่อได้ รายชื่อ Plugin แล้วก็ทำการลงใหม่ โดนจะไป Download เองหรือ Install ผ่าน Search ในหน้า Plugin ก็ได้ เมื่อลงแล้วส่วนใหญ่ Config เดิมจะยังอยู่ครบถ้วน






ถึงตอนนี้คาดว่าเข้าหน้าเว็บได้แล้ว ควรจะขึ้นโพสต์ที่เราเคยเขียนไว้ทั้งหมด ซึ่งส่วนต่อมาที่เราจะต้องจัดการจะเป็นส่วนของรูปภาพซึ่งค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร


โดยส่วนของรูปภาพนั้นจะขึ้นอยุ่กับ Path ที่เราเก็บรูปด้วยว่าเราตั้งไว้ที่ไหน ซึ่งที่ผมได้ตั้งไว้คือ wp-content/uploads แล้วตั้งให้เป็นแบ่งตาม ปี /เดือน สุดท้ายแล้วจะได้ตามนี้คือ ถ้าภาพที่ upload เดือนสิงหาคม 2009 จะอยู่ที่ wp-content/uploads/2009/08/ เป็นต้น


การ upload รูปซ่อมนั้นทำได้ดังนี้

1. เข้าไปเปลี่ยน Path ของการ Upload ให้ไปที่ Path นั้นๆจริงๆเช่น เราจะซ่อมรูปที่ Upload ไปเมื่อ 05/2009 ให้ไป Set ค่า Upload Path ที่เมนู Miscellaneous Settings เป็น wp-content/uploads/2009/05 และให้ติ๊กออกในข้อ

Organize my uploads into month- and year-based folders


2. ทำการ Upload รูปตามปกติ


3. เข้า PhpMyAdmin หรือ DB Query ตัวอื่นๆ ไป Select ดูใน Table ดังนี้

SELECT * FROM `wp_posts` WHERE Post_Date > 'yyyy-mm-dd'

โดย yyyy-mm-dd แทนวันที่ที่คุณ Upload ซึ่งจำนวน Record ที่ได้ควรจะเท่ากันกับรูปที่ Upload ไป เมื่อตรวจสอบว่าเท่ากันแล้วก็ ลบมันซะ เพื่อที่ว่าจะใน Media Library จะได้ไม่มีข้อมูลรูปซ้ำ

เมื่อจะเปลี่ยนเดือนก็ไปแก้ค่าตามข้อ 1 ให้เป็นเดือน หรือ Folder ที่ต้องการแล้วทำตามข้อ 2-3 ใหม่


4. เมื่อทำการ Upload ซ่อมเสร็จหมดแล้วก็แก้ไขค่า Config Miscellaneous Settings กลับเป็นเหมือนเดิมก็เป็นอันเสร็จพิธี


ซึ่งสาเหตุที่ต้องซ่อมรูปแบบนี้เพื่อที่ว่าจะได้มีรูปเหมือนเดิม ถูก Resize เป็นสามขนาดเหมือนเดิมและใน Post ต่างๆของเราไม่ต้องตามไปแก้อีก ทั้งนี้ระหว่างที่เปลี่ยน Config ของ Upload Path อาจเป็นไปได้ว่าไปดูรูปใน Post แล้วไม่ขึ้น ให้ลองแก้ Config กลับแล้วไปดู Post นั้นอีกที



*** สิ่งสุดท้ายที่ควรทำคือ การลง Plugin สำหรับ Backup WordPress ของเรา ตอนนี้ที่ลองใช้คือตัว WordPress Backup ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถตั้งเวลาให้ทำงานได้ ลองใช้กันดูนะ ^^

All Post One Avatar

กลับมาอีกแล้ว ^^ ช่วงนี้มีอารมณ์เขียนอะไรเกี่ยวกับ IT เยอะหน่อยอาจจะเป็นเพราะจากการดูสถิติเริ่มพบว่ามี Reference จาก Search Engine อยู่พอสมควร ทำให้เกิดความรู้สึกที่ว่าการเป็นแหล่งความรู้ให้คนอื่นมันรู้สึกดีอย่างบอกไม่ถูก ยิ่งถ้าวิธีหรือความรู้ของเราสามารถแก้ปัญหาของเค้าได้สำเร็จจะยิ่งยินดีมาก เสียดายว่าตอนนี้ยังไม่มีระบบ Tracking ว่า ผลลัพธ์จากการ Search แต่ละอันช่วยแก้ไขปัญหาหรือให้คำตอบกับผู้ค้นหาได้ตรงเพียงใด ส่วนเรื่อง SEO นี่ยังไม่ได้จริงจังมาก เพราะลึกๆยังเชื่อว่า คุณค่าจะเกิดจากตัวข้อมูลเอง ถ้า Content ดี มีประโยชน์ยังไงก็ต้องมีคนเข้ามา


วันนี้จะมาพูดกันถึงเรื่อง Avatar ซึ่งเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมบาง Comment ของ WordPress จึงมีรูปด้วย ?

Avatar คืออะไร … คำนี้ต่อให้เป็นคน IT เอง(อย่างเรา) บางครั้งก็ยังให้ความหมายตรงๆไม่ได้ วันนี้เราจะมาพูดเรื่องนี้กัน

Avatar ตามความหมายจาก Wiki Pedia (as of 27/07/2009) บอกไว้ว่า

An avatar is a computer user's representation of himself/herself or alter ego,
whether in the form of a three-dimensional model used in computer games,
[1] a two-dimensional icon (picture) used on Internet forums and other
communities,[2][3] or a text construct found on early systems
such as MUDs.It is an “object” representing the embodiment of the user.
The term "avatar" can also refer to the personality connected with
the screen name,or handle, of an Internet user.[4]


ข้างบนอาจจะยาวไปบางคนขี้เกียจอ่าน เอาง่ายๆก็คือเป็นรูปภาพที่เราใช้แทนตัวเองในเกมส์ หรือการแสดงความคิดเห็นตาม Forum ต่างๆที่จะปรากฏใกล้ๆกับชื่อ User ของเรา ส่วนใหญ่ที่หลายๆคนใช้ก็จะเป็นรูปตัวเอง รูปดารา รูปตัวการ์ตูนน่ารักๆ หรือรูปวาบหวิวก็มีบ้าง แล้วแต่สังคมนั้นๆไป ซึ่งอันหลังนี่แหล่ะที่เราจะพูดถึงกัน เพราะปัจจุบันนี้การแสดงความเห็นตาม Forum/Blog ต่างๆต้องมีการสมัครสมาชิกกันซะส่วนใหญ่ และสมาชิกก็มีสิทธิ์ที่จะอัพโหลดรูปเพื่อแสดงความน่ารักของตัวเองออกมา แต่ลองคิดเล่นๆว่าถ้าเราสิงห์สถิตอนยู่ซัก 10 Forums ไหนจะตาม Blog เพื่อนๆอีกซัก 20 ที่ แน่นอน Avatar เราต้องมีเป็นล้าน (เวอร์ไว้ก่อนอ่ะ) ถ้าเราทำให้มันเหลือ Avatar ที่เดียวแล้วเราสามารถเอามันไปใช้ได้เกือบทุกที่เลยก็คงจะดีไม่น้อย และแน่นอนตอนนี้ก็มีบริการแบบนี้อยู่แล้ว ซึ่งก็คือ


Gravatar.Com เป็นเว็บสำหรับสร้าง Avatar และสามารถนำไปใช้กับเว็บต่างๆที่รองรับได้

Gravatar

เพียงแค่เราสมัคร Gravatar แล้วเมื่อเราไป Post Comment ด้วย Email ที่เราสมัครไว้ และเว็บนั้นรองรับ Gravatar เพียงเท่านนี้รูปของคุณก็ปรากฏให้เห็นเป็นสง่า ^_^ โดยสามารถตรวจสอบ รายชื่อ Web Software ที่รองรับ ซึ่งจะเห็นว่ารองรับ CMS และ Blog Engine ไว้หลายตัวเลยทีเดียว รวมทั้งยังมี How to ในกรณีที่พัฒนาเว็บด้วยตัวเองและอยากทำให้ร้องนับ Gravatar ได้ด้วย และยิ่งกว่านั้นคือ WordPress ได้ Built-in Gravatar Plugin ตั้งแต่เวอร์ชัน 2.5 เป็นต้นไป

อีก Feature ที่สำคัญคือในส่วนจัดการของ Gravatar เองเราสามารถเพิ่ม Email Address และเพิ่มรูปเพื่อเก็บไว้ใช้ได้ด้วย


ว่าแล้วก็ลองไปสมัครกันดูนะ .. http://en.gravatar.com/site/signup/


ปล. เกริ่นยาวกว่าเนื้อหาจริงๆอีก – -“

ปล2. เริ่มอึดอัดกับ font ของ Theme นี้รู้สึกว่ามันไม่เหมาะกับภาษาไทยเอาซะเลย

 


Reference :

http://codex.wordpress.org/Using_Gravatars

http://en.gravatar.com/site/implement

Buxfer: Track Your Money

กลับมาอีกแล้วสำหรับช่วงแนะนำสิ้นค้า วันนี้เราขอนำเสนอออออ …. เว็บที่ทำให้การจัดการการเงินของคุณง่ายดายด้วยเพียงปลายนิ้ว เพียงแค่คุณมี หน้าจอ คีย์บอร์ด เมาส์ ซีพียู อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ไฟฟ้า แอร์ ภาษาอังกฤษ เงินเดือน ความจำ แค่นี้(เอง) คุณก็สามารถจัดการกับมันได้แล้ว

 

ซึ่งคราวนี้ถึงคิวของ Personal Financial Management Software โอ้ว … เท่เป็นบ้าเลย พูดให้เข้าใจง่ายๆคือตัวช่วยจัดการการเงินของรา (เข้าใจง่ายขึ้นตรงไหนเนี่ย) หรือการทำบัญชีนั่นเองฮ่าๆๆ หลายๆคนคงเคยพยายามจะจดค่าใช้จ่าย หรือพยายามทำบัญชีมาหลายครั้งหลายครา แต่สุดท้ายก็เขียนอยู่ได้สามสี่วันก็เลิกไป เพราะไม่ได้มานั้งเปิดมันเขียนทุกวัน กลับมาถึงบ้านก็เหนื่อย ผ่านไปสี่ซ้าห้าวันพอจะมาเขียนอีกทีก็จำไม่ได้แล้วว่าจ่ายอะไรไปบ้าง เป็นงี้อยู่หลายรอบเลย (มันก็เป็นข้ออ้างทั้งนั้นแหล่ะ :P)

 

แต่คราวนี้เรามาลองใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ดูมั่ง โดยลองทำมันบนเว็บดูบ้าง อย่างน้อยมาถึงที่ทำงานตอนเช้าๆ ขณะเปิดอ่านข่าวหรือเปิดเว็บประจำตอนกินกาแฟ เราก็เพิ่มเว็บนี้ไปอีกเว็บนึงเพื่อกรอกรายละเอียดที่จ่ายไปนิดๆหน่อยๆก็คงไม่ลำบากเกินไป แถมสิ้นเดือนยังสามารถสรุปค่าใช้จ่ายพลอตเป็นกราฟให้เราดูแก้เซ็งได้ด้วย เดี๋ยวความสามารถเราจะมาไล่ดูกันทีละอันละกัน

 

เว็บที่แนะนำวันนี้คือ http://www.buxfer.com

Scroll to top