คำแนะนำในการวางแผนวิชาเลือก

เหอะๆ วันนี้ขอวิชาการล้วนๆเลยละกัน พอดีว่าเคลียร์คอม (อีกแล้ว ) แล้วก้เจอแนวทางการเลือกภาคที่อ.ธนาเคยเขียนไว้ ดีมากๆๆ เลยอยากเอามาเผยแพร่ต่อ (ไม่รู้ว่าสายไปมั้ย) ก็ลองมาอ่านกันได้ สำหรับใครที่ไม่ได้อ่านคราวนั้น
 
คำแนะนำในการวางแผนวิชาเลือก (ฉบับ อ. ธนา)

ข้อแนะนำนี้เป็นข้อแนะนำของผม อาจไม่เหมือนคนอื่น คุณจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้

การเลือกวิชาเลือกควรจะมองเป็น Top Down Design โดยเริ่มจาก

เราจะทำอะไรหลังจากจบแล้ว ทำงานเลย หรือ รอเรียนต่อ

เอากรณีทำงานก่อน ทำงาน จะทำงานอะไร ในตลาดแรงงานปัจจุบัน มีงานอยู่ 3 ด้านหลัก ๆ
– งานด้าน Developer หรือพวกเขียนโปรแกรม
– งานด้าน System ซึ่งได้แก่งานดูแลระบบ อาจเป็นระบบซอฟต์แวร์ หรือ ฮาร์ดแวร์ หรือ Network แต่งานในกลุ่มนี้จะไม่ต้องเขียนโปรแกรมมาก
– งานด้าน Hardware และงานอื่น ๆ

งานทางด้าน Developer
– งานในกลุ่มนี้มีตำแหน่งงานในตลาดมากที่สุด จากการคาดการณ์ของผมเอง เชื่อว่ามีไม่น้อยกว่า 60 เปอร์เซนต์ของงานทั้งหมด ดังนั้นคนที่ตั้งเป้ามาด้านนี้ จะมีงานให้เลือกเยอะแยะ ภาษาที่นิยมใช้มากที่สุด คงจะเป็น JAVA ภาษาอื่น ๆ ก็คงจะเป็นพวกเว็บ เช่น JSP, PHP, ASP ภาษา C, C++ , VB อะไรประมาณนี้ ส่วนใหญ่งานจะเป็นงานที่ต้องติดต่อ Database บริษัทที่ทำงาน จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ บริษัทที่ทำซอฟต์แวร์ขาย คือ มี Spec ที่ออกแบบมาจากบริษัทเอง ไม่ต้องไปหา Requirement จากผู้ใช้ บริษัทประเภทนี้มักรับงานจากเมืองนอก แต่ก็เห็นหลายบริษัททำโปรแกรมขายในไทย ที่เริ่มมีมากก็คือเกม ปัจจุบันมีบริษัทเขียนเกมขายอยู่หลายบริษัทเหมือนกัน อีกประเภทหนึ่ง คือ บริษัท ที่ทำซอฟต์แวร์ประเภทสั่งทำ คือ ทำตามความต้องการของลูกค้า แต่บางบริษัทใหญ่ ๆ เขาก็มีแผนกซอฟต์แวร์เอาไว้เขียนโปรแกรมไว้ใช้ในบริษัทอย่างเดียว
ถ้าคุณต้องการทำงานด้านนี้ละก้อ มีให้เลือกไม่หวาดไม่ไหวเลย แต่หากจะทำบริษัทดี ๆ ก็อาจต้องแข่งกันหน่อย

งานทางด้าน System
– งานในกลุ่มนี้มีน้อยกว่ากลุ่ม Programmer ดังนั้นจะมีงานให้เลือกน้อยกว่า และมีการแข่งขันกันมาก ลักษณะงานจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ดูแลระบบเฉพาะทางหรือซอฟต์แวร์เฉพาะทาง เช่น SAP ซอฟต์แวร์พวกนี้จะใหญ่ แพง จึงต้องมีคนเฉพาะทางมาดูแล พวกนี้มันมีเงินเดือนเยอะ เพราะคนเก่ง ๆ หายาก แต่เวลาย้ายงาน ก็ยากเหมือนกัน เพราะมีคนที่ใช้อยู่ไม่มาก กลุ่มที่ 2 คือ ดูแลระบบปฏิบัติการ เช่น Windows, UNIX กลุ่มนี้จะมีมากที่สุด หางานได้มากที่สุด และกลุ่มที่ 3 คือ ดูแล Network กลุ่มนี้จะมีตำแหน่งงานไม่มาก ออกไปทางน้อยด้วยซ้ำ บางที่เขาเอากลุ่ม 2-3 มารวมกัน คือ ให้ดูแล 2 อย่างเลย
นอกจากจะแบ่งตามลักษณะงาน แล้วหากแบ่งตามบริษัท แล้วจะได้เป็นบริษัทที่เป็น Implementor คือ รับติดตั้งระบบ คนที่ทำงานบริษัทพวกนี้ มักจะต้องรู้หลายอย่าง เพราะเวลาไปวางระบบ แต่ละบริษัทจะมีความต้องการไม่เหมือนกัน ทำให้ต้องอ่านหนังสือมาก และมักจะต้องทำงานช่วงกลางคืน เสาร์ อาทิตย์บ่อย ๆ เพราะเป็นช่วงที่ Down ระบบได้ อีกประเภทหนึ่ง คือบริษัท User ก็คือคนที่ดูแลงานในบริษัท มักเป็นงานดูแลรักษา แก้ปัญหาเป็นส่วนใหญ่ คนทำงานกลุ่มนี้ มักไม่รู้มากหลายด้าน แต่จะรู้ลึก เพราะทำงานใกล้ชิด และแก้ปัญหาหลายอย่าง

งานฮาร์ดแวร์และงานอื่น ๆ
– งานฮาร์ดแวร์ใครว่าไม่มี อันที่จริงแล้วมีแต่มีน้อย คนที่ทำก็ต้องใจรักหน่อย งานด้านอื่น ๆ ก็คือ งานวิจัย หลาย ๆ ที่เขาก็มีการรับนักวิจัย อีกด้านที่จัดเป็นงานอื่น ๆ ด้วยก็คือเป็นอาจารย์ไงครับ

เอาละ เมื่อยมือแล้ว ขอจบภาคแรกก่อนก็แล้วกัน แล้วค่อยมาเขียนต่อภาค 2

 
คราวนี้ก็มาดูลักษณะงานเทียบกับวิชาเลือกที่ควรจะลง

เอากลุ่ม System ก่อนก็แล้วกัน เพราะเป็นกลุ่มที่ผมเกี่ยวข้องมากหน่อย และมีข้อมูลที่เขารับสมัครงานกันมากที่สุด

ในกลุ่ม System นี้จะแบ่งเป็น 3 สายตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

สำหรับสายที่ 1 ที่เป็นการดูแลซอฟต์แวร์เฉพาะจะไม่พูดถึง เพราะหายาก และจบใหม่ ไม่มีโอกาสอยู่แล้ว

สำหรับสายที่ 2 คือ ดูแลระบบนั้น จะแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ Windows และ UNIX ซึ่งโดยทั่วไปกลุ่มคนที่ไป 2 ด้านนี้เขามักจะไปในแนวทางของตัวเอง คือ คนที่ไปทาง Windows เขาก็มักจะไปทาง Windows ไม่ค่อยเปลี่ยนมาเป็น UNIX คนที่ไปทาง UNIX ก็ไม่ค่อยเปลี่ยนไป Windows คนที่ทำงานกลุ่มนี้ ควรจะมีความกระตือรือร้น เพราะมักมีการเปลี่ยนแปลงของซอฟต์แวร์ตลอดเวลา ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และหนังสือที่ต้องอ่านก็มีปริมาณค่อนข้างมาก นอกจากนั้นต้องชอบแก้ปัญหา เพราะมักจะมีปัญหาเกิดขึ้นบ่อย ๆ คนที่ทำงานในกลุ่มนี้ จะไม่สามารถควบคุมเวลาของตนเองได้ เพราะหากมีปัญหาก็จะต้องไปทำให้เสร็จ หากงานไม่เสร็จบางทีก็จะไม่ได้กลับบ้าน ดังนั้นหากคุณมีแฟนที่ต้องการเวลาที่แน่นอนจากคุณ อาชีพนี้อาจไม่เหมาะ

การทำงานในสายนี้ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ใช้ความรู้ที่เรียนมามากสักเท่าไร โดยเฉพาะวิชาเลือก เพราะมันเฉพาะทางมากเกินไป อย่าง Windows คงจะสอนไม่ได้หรอกว่าจะ Config อย่างไร เพราะเฉพาะตัว Windows 2000/2003 ถ้าจะเรียนกันจนเก่ง ก็คงต้องใช้เวลาเป็นเทอมแล้วละ แล้วยังมีซอฟต์แวร์อย่าง Exchange ที่เป็น Mail, SQL Server ที่เป็น Database Server และอื่น ๆ อีกเยอะ นอกจากนั้นยังมีซอฟต์แวร์ของ Third Party ที่จำเป็นต้องรู้อีกเช่น Antivirus, Firewall เรียกได้ว่าสามารถเทียบกับการเรียนปริญญาตรีได้ 1-2 ปีเลยทีเดียว สำหรับ UNIX ก็ไม่ต่างกันเท่าไร คือ มีเรื่องที่ต้องรู้เยอะ

ดังนั้นความรู้ส่วนใหญ่ที่ใช้ จะเป็นความรู้ที่เรียนรู้ระหว่างการทำงาน งานจึงหนักไงครับ โดยทั่วไปคนที่อยู่สายนี้เขาจะวัดความรู้กันที่ Certificate หรือใบประกาศที่แต่ละค่ายเขามีให้ไปสอบวัดความรู้ แต่ไม่ได้วัดทั้งหมดนะ คือ เขาจะดูใบ Cert ส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งเขาจะสัมภาษณ์เอา เดี๋ยวนี้บางมหาลัย ก็เลยให้เด็กสอบในระหว่างเรียนเลย

คนที่มุ่งมั่นจะไปสายนี้ ควรจะมีความเชี่ยวชาญในสายที่ตัวเองต้องการจะไป เช่น หากเป็น UNIX ก็น่าจะ Admin ระบบได้ หรือหากเป็น Windows 2000/2003 ก็ควรใช้งานในระดับ Admin ได้ ปัจจุบันมีตำราภาษาไทยอยู่เยอะ ลองหามาอ่าน ในการรับเข้าทำงานสายนี้ เขาจะไม่ดูเกรดมาก เพราะความเก่งของสายนี้มันไม่ขึ้นกะเกรดสักเท่าไร แต่ให้มากกว่า 2.5 ไว้เป็นดี เขาจะใช้วิธีสัมภาษณ์เพื่อวัดความรู้ และนิสัย ดังนั้นหากตอนนี้เราสามารถโชว์ความสามารถของเราออกไปได้ เราจะได้เปรียบค่อนข้างมาก ในการรับสมัครส่วนใหญ่เขาจะเข้มงวดพอสมควร เพราะส่วนใหญ่จะรับครั้งละไม่มาก ทีละแค่ไม่กี่คน จึงพยายามเลือกให้ดีที่สุด

คนที่ไปสายนี้ควรมี Skill ทางด้าน Programming เล็กน้อย ไม่ต้องมาก เพราะอาจจะมีการเขียนพวกสคริปต์ โดยเฉพาะ UNIX นี่ต้องใช้เยอะเลยนะครับ

วิชาที่ต้องเรียนในสายที่ 2 นี้ คือ จำเป็นต้องใช้
TCP/IP Networks เพราะต้อง Config ด้านนี้มาก ความรู้ด้านนี้ขาดไม่ได้เลย
Computer Security เพราะใช้ในการป้องกันระบบ
Network Security เพราะใช้ในการป้องกันระบบ
UNIX Programming สำหรับคนที่จะไปสาย UNIX

วิชาที่เสริมอาชีพในสายนี้
Introduction to Local and Wide Area Networks
Campus Network Design
Wide Area Network Design
Telecommunication Networks
Advanced Database Systems

คนที่จะไปสายอาชีพนี้ อาจมีวิชาเรียนที่สามารถนำไปใช้ไม่มากนัก ทั้งนี้เนื่องจากเหตุผลที่ได้กล่าวมา ดังนั้นจะวิชาอื่น ๆ ก็เลือกได้ตามความชอบ แต่อย่าลืมฝึกฝีมือเอาไว้บ้าง

กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่ม Network นั้น ในทางปฏิบัติแล้ว มักหางานที่เป็น Network Pure ได้ยาก เพราะมันใช้คนน้อย เช่น บริษัทแห่งหน

3 Comments

  1. jan
    May 3, 2006
    ทำไม……….มีสาระจังง่ะ
  2. pakkardkaw
    May 1, 2006
    เทอมหน้าลงเมหือนกันป่าว internet programming  adv DB  O-O  Image Processing Com Secure
  3. Jester
    April 29, 2006
    มันไม่สายไปหรอกค่ะ ที่โพสเรื่องนี้ ออกจะเป็นบุญ เป็นกุศลซะด้วยซ้ำ เหอๆๆๆๆๆๆ

Comments are closed.

Scroll to top